กองบรรณาธิการวารสาร
- Details
- Category: กองบรรณาธิการวารสาร
- Published: 07 August 2020
- Written by pakron
- Hits: 36323
กองบรรณาธิการวารสาร
เจ้าของ
สมาคมนักวิชาการการท่องเที่ยว (ประเทศไทย)
ที่ปรึกษา
อาจารย์เสรี วังส์ไพจิตร มหาวิทยาลัยรังสิต
Dr.Andy Nazarechuk University of La Verne, California
บรรณาธิการ
ผศ.ดร.ชลลดา มงคลวนิช มหาวิทยาลัยสยาม
กองบรรณาธิการ
ผศ.ดร.นานา ศรีธรรมศักดิ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ
ผศ.ดร.พิมพ์มาดา วิชาศิลป์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
ผศ.ดร.วรรณา ศิลปอาชา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
ดร.ปรเมษฐ์ บุญนำศิริกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ดร.สุพัชรจิต จิตประไพ วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม
ดร.วีรเดช พันธ์วิศวาส มหาวิทยาลัยมหิดล
ดร.นันทิรา ภูขาว สนใจ มหาวิทยาลัยสยาม
ดร.กฤป จุระกะนิตย์ มหาวิทยาลัยสยาม
ฝ่ายจัดการ และเลขานุการกองบรรณาธิการ
อาจารย์ปัญจมา เปมะโยธิน
อาจารย์ยุวริน ศรีปาน
ฝ่ายจัดทำรูปเล่ม
ผศ.ดร.อังคณา ใจเหิม
นางสาวโศพิฐฐา นพคุณ
นายอมร มะลิวัลย์
ฝ่ายพิสูจน์อักษร
อาจารย์ศุภัตรา ฮวบเจริญ
Mr. Paul Gomes
กำหนดการเผยแพร่
ปีละ 2 ฉบับ ฉบับที่ 1 ตั้งแต่เดือนมกราคม – มิถุนายน และฉบับที่ 2 ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม – ธันวาคม
ผู้ประสานงานเผยแพร่
นางสาว โศพิฐฐา นพคุณ
จัดทำโดย
สมาคมนักวิชาการการท่องเที่ยว (ประเทศไทย)
Tourism Academic Association of Thailand
มหาวิทยาลัยสยาม อาคาร 19 ชั้น 18
เลขที่ 38 ถนนเพชรเกษม ภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร 10160
โทรศัพท์ 0-2457-0068 ต่อ 5398, 5211
โทรสาร 0-2868-4842 และ 0-2868-4351
เว็บไซต์: tourismtaat.siam.edu
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
เงื่อนไขการรับบทความ
- Details
- Category: เงื่อนไขการรับบทความ
- Published: 21 August 2020
- Written by pakron
- Hits: 37080
เงื่อนไขการรับบทความ
1. การพิมพ์ต้นฉบับจะต้องพิมพ์ตามรูปแบบและขนาดตัวอักษรตาม Template ที่กำหนดไว้ ซึ่งสามารถดาวน์โหลดตามรูปแบบผลงานที่ต้องการตีพิมพ์ตามรายละเอียดด้านล่าง
– แบบฟอร์ม วิจัยไทย
– แบบฟอร์ม วิจัยอังกฤษ
– แบบฟอร์ม วิชาการไทย
– แบบฟอร์ม วิชาการอังกฤษ
2. ผู้ส่งต้นฉบับผลงานเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ต้องรับรองว่าไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารหรือสิ่งพิมพ์ใดมาก่อน (ยกเว้นรายงานการวิจัยวิทยานิพนธ์) และไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณารอตีพิมพ์
3. บทความที่ส่งเข้ารับการพิจารณาตีพิมพ์ ต้องผ่านการตรวจการพิมพ์ซ้ำด้วยระบบอักขราวิสุทธิ์ โดยมีเกณฑ์การตรวจสอบไม่เกินร้อยละ 20 พร้อมแนบใบรับรองการตรวจสอบส่งมายังกองบรรณาธิการ
4. ผลงานทางวิชาการที่รับพิจารณาตีพิมพ์พิมพ์เป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ บทความวิจัยความยาวไม่น้อยกว่า 5 หน้า และไม่เกิน 15 หน้า พิมพ์ต้นฉบับด้วยกระดาษขนาดเอ 4 หน้าเดียว
5. การอ้างอิงในเนื้อหา (In-text Citation) และเอกสารอ้างอิง (Reference) ท้ายบทความ ขอให้เขียนเป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น หากมีแต่เอกสารอ้างอิงภาษาไทยให้ปรับเป็นภาษาอังกฤษ โดยการแปลรายการอ้างอิงภาษาไทยให้เป็นภาษาอังกฤษ สามารถดูดาวน์โหลดตัวอย่างได้ที่นี่
6. การกลั่นกรองบทความทุกบทความจะได้รับการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาอย่างน้อย 3 คน (Triple blind Review) จึงขอให้ผู้ส่งต้นฉบับพร้อมระบุ ชื่อ ตำแหน่งทางวิชาการ วุฒิการศึกษาสูงสุด สังกัด อีเมล หมายเลขโทรศัพท์ของผู้แต่งทุกคนบนหน้าปกผลงานเท่านั้น ข้อความที่บ่งบอกถึงผู้แต่งต้องไม่ปรากฏในที่อื่นๆ ของบทความ
7. โครงสร้างบทความประกอบด้วยบทคัดย่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษประมาณ 100-250 คำ คำสำคัญ (Keywords) บทนำ วัตถุประสงค์ สมมติฐาน (ถ้ามี) ประโยชน์ที่ได้รับ วิธีดำเนินการวิจัย สรุปผลการวิจัย ข้อเสนอแนะ กิตติกรรมประกาศ (ถ้ามี) และเอกสารอ้างอิง สำหรับ Keywords ภาษาอังกฤษใช้ตัวเล็กทั้งหมด ยกเว้นเป็นชื่อเฉพาะเท่านั้นที่ใช้อักษรตัวใหญ่
8. Abstract และบทความที่เป็นภาษาอังกฤษ จะต้องได้รับการตรวจภาษา ทั้งไวยากรณ์และการสะกดคำจากเจ้าของภาษาหรือผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาอังกฤษ
9. ตารางหรือรูปประกอบต้องระบุ หัวข้อให้ชัดเจน อาจเป็นภาพสไลด์ ภาพสี ภาพขาวดำก็ได้ แต่ควรมีความขาว-ดำชัดเจน (มี Contrast สูง)
10. หากเป็นบทความที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่เคยตีพิมพ์ในวารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทยเล่มที่ผ่านๆ มา ต้องมีการอ้างอิง (Citation) ไว้ในบทความที่ส่งมาตีพิมพ์ด้วย
11. ผลงานที่ได้รับตีพิมพ์แล้ว เจ้าของผลงานอย่างน้อย 1 คนต้องสมัครเป็นสมาชิกของวารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย สามารถสมัครและดูรายละเอียดการเป็นสมาชิกได้ ที่นี่
12. การส่งไฟล์บทความต้นฉบับให้ส่งผ่านเว็บไซต์ THAIJO เท่านั้น
หากมีข้อสงสัยประการใด สามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
Email : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
เบอร์โทรศัพท์ 0-2457-0068 ต่อ 5398
วารสารนักวิชาการเล่มที่ 16 ฉบับที่ 1
- Details
- Category: Uncategorised
- Published: 05 February 2021
- Written by pakron
- Hits: 3610
บทบรรณาธิการ
ผศ.ดร.ชลลดา มงคลวนิช
บทความวิจัย
ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติในการเลือกใช้บริการโฮสเทลในเตกรุงเทพมหานคร
บุญนิดา แก้วกิริยา และรุ่งอาทิตย์ บูชาอินทร์
แนวทางการพัฒนาท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย
หนึ่งหทัย ขอผลกลาง และกันตภณ แก้วสง่า
การศึกษาการดำเนินนโยบายท่องเที่ยว: กรณีศึกษาการพัฒนาการท่องเที่ยวบริเวณหาดเจ้าหลาว หาดแหลมเสด็จ และอ่าวคุ้งกระเบน จังหวัดจันทบุรี
แพรดาว ฟูพาณิชย์พฤกษ์
พฤติกรรมของนักท่องเที่ยวชาวอาหรับในกรุงเทพมหานคร
ฐิติรัตน์ ปั้นบำรุงกิจ
โมเดลเชิงสาเหตุของความตั้งใจกลับมาท่องเที่ยวแบบเนิบช้าซ้ำโดยมีพฤติกรรมเป็นตัวแปรส่งผ่าน
สุบัญชา ศรีสง่า และสมยศ วัฒนากมลชัย
ความต้องการของชุมชนในการพัฒนาศักยภาพเพื่อการจัดการท่องเที่ยวเชิงอาสาสมัคร: กรณีศึกษาชุมชนมอญบางกระดี่
กัญญารินทร์ ไชยจันทร์
แนวทางในการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนด้วยการจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม กรณีศึกษา: ชุมชนหมื่นไวย อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา
วชิรญา ตติยนันทกุล
ความต้องการจำเป็นด้านทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษของพนักงานต้อนรับส่วนหน้า
วชิราภรณ์ กิจพูนผล และเหงวียน ยุย ลินน์
จริยธรรมในการตีพิมพ์บทความ
- Details
- Category: จริยธรรมในการตีพิมพ์บทความวิชาการ
- Published: 01 August 2019
- Written by pakron
- Hits: 36921
PUBLICATION ETHICS
จริยธรรมในการตีพิมพ์บทความวิชาการ
เพื่อให้การตีพิมพ์วารสารเป็นไปอย่างมีคุณภาพ ถูกต้อง และเป็นที่ยอมรับ สอดคล้องกับมาตรฐานการตีพิมพ์นานาชาติ และจริยธรรมในการตีพิมพ์บทความตามข้อกำหนดของ Committee on Publication Ethics (COPE) วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย จึงได้กำหนดจริยธรรมของการตีพิมพ์ ดังนี้
สำหรับผู้เขียน(Authors)
1. ผู้เขียนจะต้องรับรองว่าผลงานที่ส่งเข้ารับการพิจารณาตีพิมพ์ เป็นผลงานใหม่ ไม่เคยตีพิมพ์ที่ใดมาก่อน
2. บทความที่ส่งเข้ารับการพิจารณาตีพิมพ์ ต้องผ่านการตรวจการพิมพ์ซ้ำด้วยระบบอักขราวิสุทธิ์ โดยมีเกณฑ์การตรวจสอบไม่เกิน 20% พร้อมแนบใบรับรองการตรวจสอบส่งมายังกองบรรณาธิการ
3. ผู้เขียนต้องรับรองว่าผลงานที่ส่งเข้ารับการพิจารณาตีพิมพ์ เป็นผลงานของผู้เขียน และผู้เขียนร่วมตามชื่อที่ปรากฏไว้จริง
4. ผู้เขียนต้องรับรองว่าผลงานที่ส่งเข้ารับการพิจารณาตีพิมพ์ ต้องอ้างอิงผลงานวิชาการของผู้อื่นให้ครบถ้วนและระบุไว้ในเอกสารอ้างอิงตามหลักเกณฑ์ หากมีการนำข้อความมาใช้ในผลงานของตนเอง
5. ผู้เขียนต้องรับรองว่าผลงานที่ส่งเข้ารับการพิจารณาตีพิมพ์ มีความถูกต้องของเนื้อหา รายงานข้อมูลและผลการวิจัยที่เกิดขึ้นจากการทำวิจัยจริง และรับผิดชอบต่อความคิดเห็นหรือข้อสรุปในบทความที่นำมาตีพิมพ์
6. หากเป็นบทความวิจัยที่ได้รับทุนการสนับสนุน ผู้เขียนต้องระบุแหล่งทุนที่สนับสนุนการทำงานวิจัยของท่านในบทความ หรือต้องระบุผลประโยชน์ทับซ้อนอย่างชัดเจน (ถ้ามี)
สำหรับกองบรรณาธิการ (Editors)
1. กองบรรณาธิการวารสารจะไม่รับตีพิมพ์ผลงานที่ได้ตีพิมพ์ที่อื่นมาก่อน
2. กองบรรณาธิการวารสารมีระบบการตรวจสอบการตีพิมพ์ซ้ำ/ซ้ำซ้อน (Duplications/Plagiarism) อย่างเคร่งครัด เพื่อให้แน่ใจว่าบทความที่จะตีพิมพ์ไม่มีการคัดลอกผลงานของผู้อื่น ทั้งนี้ หากตรวจพบกองบรรณาธิการจะหยุดดำเนินการ และติดต่อผู้เขียนเพื่อให้มีการชี้แจงประกอบการพิจารณาในการตอบรับหรือปฏิเสธการตีพิมพ์ผลงาน
3. กองบรรณาธิการวารสารพิจารณาและกลั่นกรองคุณภาพของบทความ เพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการ โดยคัดเลือกผลงานที่ผ่านการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญในด้านนั้นๆ รวมถึงผลงานต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และขอบเขตของวารสาร
4. กองบรรณาธิการวารสารต้องตัดสินโดยตั้งอยู่บนพื้นฐานคำแนะนำจากผู้ทรงคุณวุฒิ และพิจารณาความถูกต้องเหมาะสมชัดเจนในหลักฐานข้อมูลต่างๆ จากผู้เขียน
5. กองบรรณาธิการวารสารจะต้องไม่เปิดเผยข้อมูลของผู้เขียนและผู้ประเมินบทความ
6. กองบรรณาธิการวารสารจะต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนใดๆ กับผู้เขียน ผู้ประเมินบทความ และบุคคลอื่นๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง
7. กองบรรณาธิการวารสารจะต้องรักษามาตรฐาน รวมถึงพัฒนาวารสารให้มีคุณภาพและมีความทันสมัยอยู่เสมอ
สำหรับผู้ประเมินบทความ (Reviewers)
1. ผู้ประเมินบทความจะต้องประเมินบทความในสาขาที่ตนมีความเชี่ยวชาญ และปฏิบัติตามกระบวนการประเมิน ปราศจากอคติและความคิดเห็นส่วนตัวมาร่วมเป็นเกณฑ์ในการประเมินบทความ
2. ผู้ประเมินบทความจะต้องพิจารณาคุณภาพจากความสำคัญ ความทันสมัย และความชัดเจนของเนื้อหาในบทความ รวมถึงคุณภาพการวิเคราะห์และการเข้มข้นของผลงาน
3. ผู้ประเมินบทความจะต้องพิจารณาและระบุผลงานวิจัยที่สำคัญ มีความสอดคล้องกับบทความที่กำลังดำเนินการประเมินแต่ผู้เขียนไม่ได้อ้างถึง เข้าไปในการประเมินบทความด้วย เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการปรับแก้ไขและพัฒนาคุณภาพของบทความ
4. ผู้ประเมินบทความมีบทบาทต่อการตรวจสอบความซ้ำซ้อนของผลงานจากผู้เขียน ทั้งนี้ หากพบว่ามีความซ้ำซ้อนของผลงานให้แจ้งข้อมูลที่ตรวจพบมายังกองบรรณาธิการวารสาร
5. ผู้ประเมินบทความต้องไม่เปิดเผยข้อมูลของบทความแก่บุคคลอื่นที่ไม่เกี่ยวข้อง ในช่วงเวลาของการประเมินบทความยังไม่แล้วเสร็จ
6. ผู้ประเมินบทความต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนใดๆ กับผู้เขียน เช่น การรู้จักกันเป็นการส่วนตัว เป็นผู้ร่วมโครงงาน ผู้ร่วมงาน หรือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง
รายละเอียดเพิ่มเติม : มาตรฐานทางจริยธรรมของคณะกรรมการจริยธรรมการตีพิมพ์
https://docs.google.com/document/d/17S2YlCovpCbAvxrnthW3T7iXNLABAPSXTFJVQRiuR-I/edit
ที่มา : ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (Thai Journal Citation Index Centre)
วารสารนักวิชาการเล่มที่ 15 ฉบับที่ 2
- Details
- Category: Uncategorised
- Published: 01 August 2020
- Written by pakron
- Hits: 5698
บทบรรณาธิการ
ผศ.ดร.ชลลดา มงคลวนิช
สารบัญ
บทความวิจัย
ภาพลักษณ์การท่องเที่ยวจังหวัดสระแก้วเพื่อเป็นเมืองท่องเที่ยวชายแดน
คมสิทธิ์ เกียนวัฒนา และกฤติกา สายณะรัตร์ชัย
การประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ผ่านเว็บไซต์เครือข่ายสังคม
กันตภณ แก้วสง่า และคณะ
พฤติกรรมการท่องเที่ยวและความต้องการของนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุต่อการท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่
กาญจนาวดี พวงชื่น และแสงสรรค์ ภูมิสถาน
แนวทางการพัฒนากรุงเทพมหานครสู่เมืองแห่งการท่องเที่ยวแบบจับจ่ายใช้สอยอย่างยั่งยืน กรณีศึกษากลุ่มนักท่องเที่ยวชาวจีน
วัชรวิชญ์ วิยาภรณ์
ความต้องการและความเต็มใจจ่ายค่าธรรมเนียมในการเข้าชมพิพิธภัณฑ์: กรณีศึกษาพิพิธภัณฑ์เรือหลวงลันตาและศูนย์การเรียนรู้เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 84 พรรษา
อรอนงค์ เฉียบแหลม
การวิเคราะห์ศักยภาพของตลาดสามชุกเพื่อรองรับการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
ปฐมพงค์ กุกแก้ว และเอกลักษณ์ สงวนแสง
ศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์ในจังหวัดชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
ณรงค์ พลีรักษ์ และปริญญา นาคปฐม
การพัฒนาหลักเกณฑ์ข้อกำหนดการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศบนฐานความหลากหลาย ทางชีวภาพและการอนุรักษ์ทรัพยากรชีวภาพสำหรับวิสาหกิจชุมชมเพื่อสังคม
จริยา โกเมนต์ และเฉลิมชัยปัญญาดี และคณะ
Barriers in Sustainable Management Practices of Hotel’s Event Venue in Bangkok, Thailand
Sarinya Sungkatavat and Nadežda Sorokina